http://www.kanyafarm.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 Home

 Facebook

 Visitor

 Product

 Gallery

 Webboard

 Contact

 English

สถิติ

เปิดเว็บ13/08/2009
อัพเดท07/07/2021
ผู้เข้าชม1,892,153
เปิดเพจ2,832,918

น้อมนำพระราชดำริสร้างฝายต้นน้ำ - ทิศทางเกษตร

น้อมนำพระราชดำริสร้างฝายต้นน้ำ - ทิศทางเกษตร

               ในปี 2555 ที่ผ่านมา ฝ่ายกิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้จัดทำโครงการ “ปลูกป่าต้นน้ำ เขื่อนสิริกิติ์ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” ขึ้น ในพื้นที่จังหวัดน่าน 10,000 ไร่ โดยเชิญชวนประชาชนทุกภาคส่วน ทั้งจากส่วนกลาง และท้องถิ่นเข้าร่วมดำเนินการปลูกป่า เป็นระยะเวลา 2 ปี คือ ระหว่างปี 2555–2556 และมีการบำรุงรักษาต่อเนื่องอีก 2 ปี จนถึงปี 2558 ซึ่งป่าไม้ส่วนนี้เมื่อเจริญเติบโตจะสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 34,500 ตัน
ต่อปี

               นายสามารถ ภู่ไพบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่าการบุกรุกทำลายป่า การล่าสัตว์ การเกิดไฟป่า นับเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยเฉพาะจังหวัดน่าน เป็น 1 ใน 9 จังหวัด ของพื้นที่ภาคเหนือที่เกิดไฟป่ามาก และจากข้อมูลพบว่าการเกิดไฟป่าเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์มาจากฝีมือมนุษย์ ฉะนั้นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด จึงเป็นการประชา สัมพันธ์เผยแพร่และให้ความรู้ประชาชน โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ใกล้พื้นที่ป่าได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาไฟป่า ที่หากเกิดขึ้นแล้วจะก่อเกิดโทษมากมายหลายด้านทั้งต่อผู้อยู่อาศัยในพื้นที่และสังคมโดยส่วนรวม ให้ได้รับทราบอย่างทั่วถึง  และจากรายงานของส่วนควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึงวันที่ 23 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา พื้นที่จังหวัดน่านเกิดสถานการณ์ไฟป่า จำนวน 14 ครั้ง มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 95 ไร่ ซึ่งจัดว่ามีการเกิดไฟป่าน้อยกว่าพื้นที่อื่น คือนับเป็นลำดับที่ 7 จาก 9 จังหวัด ที่เกิดความเสียหายจากไฟป่า ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความร่วมมือของชาวบ้าน จังหวัดน่านที่ได้เข้าร่วมฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันไฟป่า ตามแนวทางเพื่อการเฝ้าระวังก็น่าจะมั่นใจได้ว่า ปริมาณการเกิดไฟป่าในช่วงนับต่อจากนี้ไปจะลดน้อยลงและหากเกิดขึ้นก็จะมีพื้นที่ที่เสียหายในปริมาณที่น้อยกว่าที่ผ่านมาอย่างแน่นอน  ควบคู่กันนี้เพื่อให้พื้นที่ป่าต้นน้ำลุ่มน้ำน่านมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และให้ต้นไม้ที่นำลงปลูกในพื้นที่มีโอกาสเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ทางโครงการฯ จึงได้จัดทำฝายต้นน้ำเพื่อชะลอน้ำสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่เพื่อลดปัญหาไฟป่าและให้ต้นไม้ที่กำลังฟื้นตัวได้เจริญเติบโตตามธรรมชาติต่อไป ทั้งนี้ได้น้อมนำพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องการจัดทำฝายชะลอน้ำมาดำเนินการ

               โดยเบื้องต้นได้พิจารณาพื้นที่จัดสร้างให้อยู่ในระบบวงจรน้ำเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดกับป่าไม้ คือ มีการสำรวจทำเลสร้างฝายในระดับที่สูงใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝายใช้วัสดุพื้นที่คือไม้ไผ่เป็นโครงนำก้อนหินภายในพื้นที่แถบลำธารมาทับถมจนได้ระดับ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ปริมาณมากพอสมควรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เดือน ซึ่งการเก็บรักษาน้ำสำรองได้นานหลังจากฤดูฝนผ่านไปแล้ว จะทำให้มีปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่แข็งแรงและโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยน้ำจะซึมซับไปตามผิวดินในวงกว้างยังผลประโยชน์แก่ต้นไม้ที่ปลูกใหม่

                ที่สำคัญยามที่เกิดฝนตกหนักปริมาณน้ำมาก น้ำก็สามารถลอดผ่านฝายไปตามซอกหินซึ่งในลักษณะเช่นนี้จะเกิดประโยชน์ต่อระบบนิเวศเป็นสำคัญคือ ลดความรุนแรงในการไหลของน้ำไม่ทำให้เกิดน้ำหลาก และสามารถเก็บกักน้ำเอาไว้ในพื้นที่ในรูปแบบน้ำเอ่อไว้ได้ค่อนข้างยาวนานอันเป็นผลดีต่อพื้นที่.

ที่มาข้อมูล : http://www.dailynews.co.th

Tags :

view
view