http://www.kanyafarm.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 Home

 Facebook

 Visitor

 Product

 Gallery

 Webboard

 Contact

 English

สถิติ

เปิดเว็บ13/08/2009
อัพเดท07/07/2021
ผู้เข้าชม1,892,421
เปิดเพจ2,833,319

เร่งตรวจโรงอนุบาลลูกกุ้งทั่วประเทศคัดกรองต้นเหตุการเกิดโรค

เร่งตรวจโรงอนุบาลลูกกุ้งทั่วประเทศคัดกรองต้นเหตุการเกิดโรค

               จากสถานการณ์ปัญหาการระบาดของกลุ่มอาการตายด่วน (EMS) หรือ AHPNS (Acute Hepatopancreatic Necrosis Syndrome) ในกุ้งทะเล ได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมกุ้งในประเทศไทยอย่างมาก กรมประมงจึงเร่งเดินหน้าอย่างเต็มที่เพื่อควบคุมปัญหาดังกล่าว โดยได้มีการจัดตั้งวอร์รูมเพื่อติดตามและแก้ไขปัญหาทุกระยะอย่างใกล้ชิด พร้อมดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการระบาดของโรค EMS ทั้งระบบ ตั้งแต่โรงเพาะฟัก โรงอนุบาล และฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลของเกษตรกร

ดร.วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง กล่าวภายหลังลงพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อตรวจประเมินและให้คำแนะนำโรงอนุบาลลูกกุ้ง ตะวันออกฟาร์มว่า สำหรับสาเหตุของโรค EMS นั้น เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio parahaemolyticus ที่ถูกโจมตีจากไวรัส โดยมีต้นเหตุมาจากลูกกุ้งที่อ่อนแอ และระบบการบริหารจัดการฟาร์มที่ไม่เหมาะสมเท่าที่ควร ดังนั้นหากมีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพลูกกุ้ง และวิธีการเลี้ยงในบ่อที่เหมาะสม รักษาสภาพแวดล้อมให้ดีก็สามารถผ่านการเลี้ยงจนสามารถจับกุ้งขายได้

จากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในจังหวัดจันทบุรีก่อนหน้านี้ พบว่า เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยง ส่วนใหญ่ลงลูกกุ้งที่มีความแข็งแรง และมีการบริหารจัดการบ่อที่ดี ดังนั้นกรมประมงจึงได้เข้าไปแก้ไขปัญหาทั้งในระดับ โรงเพาะฟัก โรงอนุบาล และบ่อเลี้ยงไปพร้อม ๆ กัน โดยเริ่มดำเนินการนำร่องใน 10 จังหวัด ที่เป็นแหล่งผลิตลูกกุ้งรายใหญ่ จังหวัดละ 2 โรงอนุบาล ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา สตูล พังงา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช ชุมพร ระยอง ตราด ฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี และจะเร่งดำเนินการเข้าตรวจเยี่ยมโรงอนุบาลในจังหวัดอื่น ๆ ให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ

ดร.วิมล กล่าวอีกว่า ปัจจุบันเกษตรกรเข้าใจสถาน การณ์และปรับปรุงระบบการผลิต ทั้งในด้านคุณภาพลูกกุ้ง และวิธีการเลี้ยงต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเลี้ยงกุ้งผ่านวิกฤติกุ้งตายด่วนได้ ทำให้มั่นใจได้ว่าด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่กรมประมงและเกษตรกรร่วมมือกัน ทำให้สถานการณ์การเกิดโรค EMS คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น แนวทางการคัดเลือกลูกกุ้งที่แข็งแรงจากการทดสอบ stress test หรือการใช้ลูกกุ้งที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ร่วมกับการบริหารจัดการบ่อ และการเลี้ยงอย่างดูแลเอาใจใส่ เช่น การปล่อยกุ้งในอัตราที่เหมาะสม การให้อาหารที่พอดี และหมั่นตรวจอาหารที่เหลือ ประกอบกับควบคุมคุณภาพน้ำและพื้นบ่อให้สะอาด จะช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งสามารถเลี้ยงกุ้งโดยปลอดภัยจากโรค EMS

“คาดว่าผลผลิตกุ้งจะเริ่มเข้าสู่ตลาดมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ของปีนี้ ซึ่งขณะนี้เกษตรกรเริ่มมีการปล่อยลูกกุ้งมากขึ้นเฉลี่ยประมาณเดือนละ 4.5 พันล้านตัว และคาดว่าผลผลิตกุ้งของไทยในปี 2556 จะผลิตได้ 300,000–350,000 ตัน หลังจากเกษตรกรปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมประมงในการแก้ปัญหาโรคตายด่วนอย่างเคร่งครัด” อธิบดีกรมประมง กล่าว

ด้าน นางสาวทิวาพร บรรจง เจ้าของตะวันออกฟาร์ม จ.ระยอง กล่าวว่า ตะวันออกฟาร์ม เป็นฟาร์มเพาะเลี้ยงลูกกุ้งขาวแวนนาไมที่เพิ่งเปิดดำเนินการได้เพียง 6 เดือน โดยมีการเพาะเลี้ยงลูกกุ้งทั้งหมด 3 โซน ประกอบด้วย โซนที่ 1 จำนวน 6 บ่อ กำลังการผลิตทั้งหมด 13 ล้านตัว โซนที่ 2 จำนวน 8 บ่อ กำลังการผลิต ทั้งหมด 16 ล้านตัว และโซนที่ 3 เป็นบ่อขนาดเล็ก จำนวน 16 บ่อ กำลังการผลิตทั้งหมด 10 ล้านตัว และเนื่องจากเป็นฟาร์มเปิดใหม่จึงมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาโรค EMS อยู่แล้ว ประกอบกับได้นำแนวทางการจัดการเลี้ยงที่ดีสำหรับการอนุบาลลูกกุ้งของกรมประมงมาปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็นการลงกุ้งในสัดส่วนความหนาแน่นไม่เกิน 120 ตัวต่อลิตร ไม่ใช้สารเคมี เน้นการเปลี่ยนถ่ายน้ำเพื่อทำความสะอาดพื้นบ่อเป็นหลัก ขายลูกกุ้งให้บ่อดินในขนาดโพสต์ลาวา PL-15 จึงทำให้ลูกกุ้งในฟาร์มมีคุณภาพและมีอัตราการรอดสูง

ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ตรวจประเมินคุณภาพลูกกุ้ง รวมถึงสุขอนามัยของโรงอนุบาลลูกกุ้งในฟาร์มของกรมประมง เพื่อคัดกรองต้นเหตุของโรค EMS นั้น ผลปรากฏว่าผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ที่ 80% โดยเราจะรักษามาตรฐานและปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมประมงในการแก้ปัญหาโรค EMS อย่างเคร่งครัดต่อไป.

ที่มา : http://www.dailynews.co.th

Tags :

view
view