http://www.kanyafarm.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 Home

 Facebook

 Visitor

 Product

 Gallery

 Webboard

 Contact

 English

สถิติ

เปิดเว็บ13/08/2009
อัพเดท07/07/2021
ผู้เข้าชม1,892,639
เปิดเพจ2,833,593

“AQUANES

“AQUANES

          รศ.สพ.ญ.ดร.เจนนุช ว่องธวัชชัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยถึงผลงานวิจัย “อะควาเนส” ว่า ได้เริ่มทำการศึกษามาตั้งแต่ปี 2546 โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากข้อสงสัยของนิสิตเกี่ยวกับยาสลบในสัตว์น้ำ ซึ่งในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมีการใช้ยาที่ไม่ปลอดภัยมากนัก และมีสารก่อมะเร็ง "ปัจจุบันยาสลบสำหรับสัตว์น้ำที่มีจำหน่ายมีเพียงยี่ห้อเดียวเป็นของสหรัฐอเมริกาซึ่งมีราคาสูงมาก ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงได้ทำการพัฒนาในด้านนี้อย่างจริงจังมากขึ้น และมีการทดสอบทั้งในปลาสวยงามและปลาบริโภค จากนั้นใช้เวลาอีก 5 ปีในการขึ้นทะเบียนตำรับยา จนได้รับอนุญาตให้ผลิตอย่างถูกต้องตามกฎหมายเมื่อปี 2551 โดยได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนคือบริษัท สยามฟาร์มาซูติคอล จำกัด ในการพัฒนาจากระดับงานวิจัยไปสู่ระดับอุตสาหกรรมภาคผลิต เพื่อเป็นยาส่งออกหรือเป็นยาขึ้นทะเบียน ซึ่งต้องมีการควบคุมวัตถุดิบทุกขั้นตอนและต้องใช้วิทยาศาสตร์ระดับสูง ซึ่งเมื่องานวิจัยสำเร็จแล้วจึงได้มอบให้เป็นสิทธิบัตรของจุฬาฯ โดยมีความประสงค์ที่จะให้ยาตัวนี้เป็นของคนไทย โดยมีบริษัท เบ็ทเทอร์ฟาม่า จำกัด เป็นบริษัทยาสำหรับสัตว์บริษัทเดียวที่เป็นของคนไทยและได้ตอบรับข้อเสนอในการกำหนดราคาจำหน่าย สำหรับงานวิจัยต่อยอดจากนี้จะพัฒนาให้ “อะควาเนส” มีคุณภาพดียิ่งขึ้น และจะพัฒนาให้ราคาจำหน่ายมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้เกษตรกรใช้ยาราคาแพง"
       
         ทั้งนี้ “อะควาเนส” ยังได้รับการประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ให้ได้รับรางวัลผลงานวิจัยการเกษตรเชิงพาณิชย์ดีเด่น ประจำปี2551 ซึ่งได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการประชุมวิชาการประจำปี 2551 ของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และได้รับรางวัลเกียรติคุณพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่นิสิตทีม Oceanic Inc. จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ ในการนำ“อะควาเนส” เข้าร่วมการแข่งขันแผนธุรกิจระดับเอเชียแปซิฟิก “The Mai Bangkok Business Challenge@Sasin 2007” 
       

ยาสลบสำหรับสัตว์น้ำ “อะควาเนส” (Aquanes) ผลิตจากสารธรรมชาติ

          ด้าน ศ.น.สพ.ดร.มงคล เตชะกำพุ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย จุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนโยบายส่งเสริมงานวิจัยในเชิงรุกเพื่อที่จะเผยแพร่ผลงานวิจัยของจุฬาฯ ไปสู่ผู้ใช้ให้มากขึ้น ซึ่งมีอยู่ 2 ส่วน คือ ภาคอุตสาหกรรมหรือภาคเอกชน และสังคมชุมชนหรือสังคมชนบท โดยจะสร้างความเข้าใจกับคณาจารย์จุฬาฯ ให้เห็นว่างานวิจัยสามารถสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้ ดีกว่าการทำงานวิจัยแล้วเก็บไว้
          "เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะมีความร่วมมือทางด้านผลงานวิจัยกับภาคเอกชนมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะเน้นการเพิ่มจำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ เพื่อสร้างศักยภาพในการเป็นมหาวิทยาลัยระดับชาติและระดับโลก ผลงานวิจัยนี้นับเป็นตัวอย่างที่ดีในการร่วมมือกับเอกชนพัฒนางานวิจัยจาก “หิ้ง” ไปสู่ “ห้าง” โดยการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรมครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างคณะสัตวแพทยศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาฯ และบริษัท เบ็ทเทอร์ฟาม่า จำกัด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่นวัตกรรมนี้เป็นผลงานของนักวิจัยไทยและทำมาจากสมุนไพรไทย"
       
          ซึ่งในขณะนี้ จุฬาฯ ได้ลงนามสัญญากับบริษัท เบ็ทเทอร์ฟาม่า จำกัด เพื่ออนุญาตให้ใช้เทคโนโลยีการผลิตยาสลบสำหรับสัตว์น้ำ “อะควาเนส” และการจัดจำหน่ายในประเทศไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม นายชยานนท์ กฤตยาเชวง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส กลุ่มธุรกิจสุขภาพสัตว์และเทคโนโลยี เครือเบทาโกร กล่าวว่า อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทยถือเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการบริหารจัดการสัตว์น้ำจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำให้สัตว์น้ำสลบหรือลดการเคลื่อนไหว
       
          "ปัจจุบันมีการใช้ยาและสารเคมีหลายชนิดเพื่อใช้ในการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำที่ไม่ผ่านการขึ้นทะเบียนตำรับยาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จึงมักพบว่ามีผลข้างเคียงต่อสัตว์น้ำ และทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังของผู้ใช้ รวมทั้งสารเคมีบางกลุ่มยังไม่ปลอดภัยต่อผู้ที่บริโภคสัตว์น้ำเป็นอาหารอีกด้วย ทางบริษัทฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาฯ ในการเป็นผู้รับสิทธิ์ในการนำผลงานวิจัยมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาสลบสำหรับสัตว์น้ำ “อะควาเนส” เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำทั้งในและนอกประเทศได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพดี ผ่านการรับรองจากสถาบันที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง ถือเป็นการยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยไปสู่สากล"

ที่มา : http://www.manager.co.th


Tags :

view
view