http://www.kanyafarm.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 Home

 Facebook

 Visitor

 Product

 Gallery

 Webboard

 Contact

 English

สถิติ

เปิดเว็บ13/08/2009
อัพเดท07/07/2021
ผู้เข้าชม1,892,590
เปิดเพจ2,833,538

ขยายผลเลี้ยงปลานิลเชิงพาณิชย์ตามมาตรฐานสากล

ขยายผลเลี้ยงปลานิลเชิงพาณิชย์ตามมาตรฐานสากล

ปลานิลเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2508 โดยเจ้าชายอากิฮิโต มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ทรงถวายลูกปลาตระกูลเดียวกับปลาหมอเทศ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 50 ตัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2508

ในระยะแรกทรงเลี้ยงในบ่อปลาภายในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต และทรงย้ายปลาด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2508 อีก 1 ปี ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ ว่า “ปลานิล”

ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ได้พระราชทานปลาขนาด 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้แก่กรมประมงเพื่อแจกจ่ายให้ราษฎรเพื่อเลี้ยงเป็นอาชีพสร้างรายได้ในครัวเรือนปัจจุบันอาชีพดังกล่าวได้กลายเป็นอาชีพสำคัญที่มีผลผลิตเป็นสินค้าส่งออกของประเทศ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีรับสั่งให้รักษาปลานิลพันธุ์แท้เอาไว้ เพราะปลานิลตามท้องตลาดกลายพันธุ์ไปมีขนาดเล็กลงและโตช้าพระราชดำริเหล่านี้ทางกรมประมงได้น้อมรับมาดำเนินการดำรงรักษาพันธุ์โดยใช้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลานิลจากสวนจิตรลดาเป็นหลักในการควบคุมพันธุกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 โดยการคัดลูกปลาออกจากบ่อเพาะพันธุ์ทุกเดือนเพื่อนำไปเพาะพันธุ์และจ่ายแจกให้แก่เกษตรกรจึงเป็นเพราะพระบารมีโดยแท้ที่ทำให้การเพาะเลี้ยงปลานิลเจริญก้าวหน้าด้วยดีในปัจจุบัน

เพื่อเป็นการขยายผลกรมประมงโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชลบุรีได้ดำเนินการคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยง ปลานิลโดยจัดตั้งเป็นชมรมผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ ต.บางหัก อ.พานทอง จ.ชลบุรี ขึ้นซึ่งกลุ่มนี้ได้รับการรับรองแบบกลุ่มภายใต้โครงการระบบพัฒนาการรับรองฟาร์มประมงขนาดเล็กของเกษตรกรรายย่อย โดยกรมประมงร่วมกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้สนับสนุนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา

ทั้งนี้ เพื่อช่วยเกษตรกรรายย่อยในการเข้าสู่การรับรองฟาร์มให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และเป็นต้นแบบการตรวจรับรองฟาร์มฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือชมรมผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบางหัก อ.พานทอง จ.ชลบุรี

ล่าสุดทางกรมประมงได้นำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของชมรมฯ พบว่าปัจจุบันมีจำนวนสมาชิก 104 รายซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลักษณะการเลี้ยงสัตว์น้ำจะเป็นบ่อดินทั้งหมด และเลี้ยงปลานิลรวมกับกุ้งขาว ผลผลิตรวมโดยประมาณ 4,000 ตันต่อปี ได้รับการสนับสนุนเครื่องผลิตอาหารสำหรับสัตว์น้ำจากกรมประมง สำหรับผลิตอาหารใช้เองภายในกลุ่ม กำลังผลิต 800-1,000 กิโลกรัมต่อวัน

มีเกษตรกรที่ปรับปรุงฟาร์มและเข้าร่วมโครงการจำนวน 15 ฟาร์ม มีพื้นที่เลี้ยง 394 ไร่ ผลผลิต 300 ตันต่อปี ผลผลิตเฉลี่ย 700 -1,000 กิโลกรัมต่อไร่ มูลค่ารวม 9.6 ล้านบาทต่อปี เป็นการเลี้ยงในบ่อดิน ขนาดตั้งแต่ 1.5 ไร่ จนถึง 10 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงรายละ 2-3 บ่อ ปลาส่วนใหญ่มีพ่อค้ามารับซื้อส่งจำหน่ายต่างประเทศ.

ที่มา : http://www.dailynews.co.th/

Tags :

view
view