http://www.kanyafarm.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 Home

 Facebook

 Visitor

 Product

 Gallery

 Webboard

 Contact

 English

สถิติ

เปิดเว็บ13/08/2009
อัพเดท07/07/2021
ผู้เข้าชม1,892,202
เปิดเพจ2,832,975

รัฐเอกชนจับมือ พัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาโอดำไทย

รัฐเอกชนจับมือ พัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาโอดำไทย

ณ ห้องประชุมพะยูน ชั้น 7 กรมประมง สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และสมาคมประมงนอกน่านน้ำไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาโอดำของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

และหนุนสร้างมาตรฐานให้ผลิตภัณฑ์ปลาโอซึ่งเป็นหนึ่งในวัตถุดิบการผลิตปลาทูน่ากระป๋องของไทย ต้องมาจากการทำประมงที่ถูกกฎหมายเท่านั้น โดยมีระบบการควบคุม และติดตามเรือที่มีประสิทธิภาพ มีกระบวนการแปรรูปที่มีมาตรฐาน ตลอดจนมีระบบการจ้างงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นธรรมตลอดสายการผลิต

ดร.ชุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากสภาพการลดลงของทรัพยากรประมงทะเล และความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อม ทำให้ทุกส่วนเริ่มตระหนักถึงการผลิตและบริโภคทรัพยากรประมงอย่างรู้คุณค่ามากยิ่งขึ้น องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาติ จึงได้มีการรณรงค์ให้ทุถกประเทศร่วมกันขจัดการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือ iuu Fishing โดยผู้นำเข้าในประเทศสหภาพยุโรปได้ออกกฎและระเบียบและกำหนดให้ประเทศผู้ส่งออกสิงค้าประมงที่ได้จากการจับจากทะเลจะต้องมีใบรับรองและต้องมีระบบตรวจสอบย้อนกลับได้

อุตสาหกรรมทูน่า เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยในแต่ละปีไทยส่งออกผลิตภัณฑ์จากทูน่ากว่า 600,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 90,000 ล้านบาท วัตถุดิบส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 นำเข้าจากต่างประเทศ แต่ในน่านน้ำไทยทั้งฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามันยังคงมีกลุ่มทูน่าขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ ปลาโอดำ ซึ่งใช้สำหรับการแปรรูปในอุตสาหกรรมทูน่ากระป๋อง

กรมประมงและผู้เกี่ยวข้องจึงมีความตระหนักที่จะให้การทำประมงของไทยปราศจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมทูน่า จึงได้ร่วมจัดทำบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ เพื่อผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ปลาโอดำของไทยได้รับความเชื่อมั่นและยอมรับ ว่าไม่ได้ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ตลอดจนปราศจากการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์

พร้อมสร้างมาตรฐานให้การผลิตปลาโอดำของไทยมาจากวัตถุดิบที่ได้จากการทำประมงที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีระบบการควบคุม และติดตามเรือที่มีประสิทธิภาพ มีกระบวนการแปรรูปที่มีมาตรฐาน ตลอดจนมีระบบการจ้างงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้และเป็นธรรมตลอดสายการผลิต เพื่อให้อุตสาหกรรมภาคการประมงของไทยเกิดความยั่งยืนสืบไป.

ที่มา : http://www.dailynews.co.th/

Tags :

view
view