http://www.kanyafarm.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 Home

 Facebook

 Visitor

 Product

 Gallery

 Webboard

 Contact

 English

สถิติ

เปิดเว็บ13/08/2009
อัพเดท07/07/2021
ผู้เข้าชม1,890,476
เปิดเพจ2,830,459

ปลาหมอ “ชุมพร 1” ทางเลือกสู้อากาศวิปริต

ปลาหมอ “ชุมพร 1” ทางเลือกสู้อากาศวิปริต

“การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปลาหมอของบ้านเรา ได้เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2512 แต่การศึกษาตอนนั้นส่วนใหญ่จะเป็นวิจัยเกี่ยวกับชีววิทยา เทคนิคการเพาะพันธุ์ การอนุบาล และการเลี้ยงปลาหมอ ส่วนการศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์

ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร



ปลาหมอ ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร หน่วยงานในสังกัดของสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์ กรมประมง จึงได้ทำโครงการนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี 2547และที่นี่ถือเป็นหน่วยงานเดียว ที่ได้ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ปลาหมอมาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี จนทำให้ได้ปลาหมอไทยพันธุ์ชุมพร 1 หนักตัวละ 1 กก.”

ดร.สง่า ลีสง่า ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร เล่าว่า ก่อนจะมาเป็นปลาหมอชุมพร 1 ในระยะแรกได้มีการให้ประมงจังหวัดในแต่ละแห่งทำการคัดหาปลาหมอที่มีขนาดใหญ่ของแต่ละพื้นที่ ส่งมาทำการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ที่ศูนย์ฯชุมพร โดยได้ปลาหมอตัวแทนจาก4 ภาค นั่นคือ ภาคเหนือได้มาจากอุตรดิตถ์ ภาคอีสานได้มาจากสกลนคร ภาคกลางจากราชบุรีและภาคใต้จากนครศรีธรรมราช

จากนั้นนำแต่ละพันธุ์มาทำการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์จนออกลูกออกหลานมา 4 รุ่น...ทำการคัดขนาดปลาหมอขนาดใหญ่ของแต่ละสายพันธุ์มาเป็นพ่อแม่พันธุ์ แล้วนำมาผสมไขว้ข้ามสายพันธุ์

ปลาหมอแต่ละขนาด

ในที่สุด ปี 2554 จึงได้ปลาหมอที่มีขนาดใหญ่ และมีการตั้งชื่อ ชุมพร 1... แต่เพื่อความมั่นใจว่า พันธุ์ปลาหมอที่ได้มาเป็นพันธุ์ที่นิ่ง นำไปเลี้ยงในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทยแล้ว ยังคงลักษณะเด่นเช่นเดิม ไม่เกิดการกลายพันธุ์ จึงได้ส่งพันธุ์ไปให้ศูนย์วิจัยประมงทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคกลาง นำไปทดลองเลี้ยง ปรากฏว่า ปลาหมอชุมพร 1 สามารถเจริญเติบโตได้ดี ไม่มีการกลายพันธุ์แสดงว่า ได้ปลาหมอพันธุ์ใหม่ที่แท้จริง

“และยังทำให้เราได้ข้อมูลที่น่าสนใจปลาหมอชุมพร 1 จะเติบโตได้ดีที่สุด ในบ่อดินและพื้นที่เหมาะกับการเลี้ยงมากที่สุดคือ ภาคอีสาน นับได้ว่าปลาหมอชุมพร 1 จะเป็นทางเลือกอาชีพใหม่ของคนอีสาน รวมทั้งยังจะเป็นแหล่งโปรตีนใหม่ให้ผู้บริโภคชาวอีสานอีกด้วย ดีกว่าปลานิล หรือปลาทับทิม เพราะปลาหมอชุมพร 1 เลี้ยงง่าย สามารถอยู่ในที่มีน้ำน้อยได้ จึงง่ายต่อการขนส่งระยะทางไกลๆ ไม่จำเป็นต้องแช่น้ำแข็งน็อกปลาเหมือนปลาชนิดอื่น เลยทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสได้กินสดๆเป็นๆ เนื้อหวานอร่อยมากขึ้น”

การจับปลาหมอ

นอกจากจะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งให้เกษตรกรที่เลี้ยงปลาแบบนำไปขายเองได้แล้ว...ที่สำคัญ ปลาหมอยังมีความทนทานต่อสภาวะคุณภาพดินและน้ำที่แปรปรวนในยุคอากาศวิปริตจากสภาวะโลกร้อนอีกด้วย

พูดง่ายๆ ยุคนี้เลี้ยงปลาหมอโอกาสรอดตายมีมากกว่าเลี้ยงปลาอย่างอื่น.

ที่มาข้อมูล : http://www.thairath.co.th/

Tags :

view
view