http://www.kanyafarm.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 Home

 Facebook

 Visitor

 Product

 Gallery

 Webboard

 Contact

 English

สถิติ

เปิดเว็บ13/08/2009
อัพเดท07/07/2021
ผู้เข้าชม1,892,930
เปิดเพจ2,833,923

เพิ่มสัตว์น้ำในแหล่งน้ำจืดเพิ่มอาหารโปรตีนในชนบท

เพิ่มสัตว์น้ำในแหล่งน้ำจืดเพิ่มอาหารโปรตีนในชนบท

ประเทศไทย มีแหล่งน้ำจืดเป็นจำนวนมาก โดยแบ่งออกเป็นแม่น้ำสายหลัก ๆ จำนวน 47 สาย มีหนองบึงธรรมชาติกว่า 11,760 แห่ง และอ่างเก็บน้ำประเภทต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมากกว่า 6,047 แห่ง แต่แหล่งน้ำธรรมชาติเหล่านี้ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นขนาดของแหล่งน้ำมีพื้นที่ลดลง ปริมาณน้ำไหลเข้า-ออกน้อยลง และมีการตื้นเขินมากขึ้น เนื่องจากการเจริญเติบโตของชุมชนเมือง ตลอดจนการก่อสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำ เพื่อการชลประทาน หรือการผลิตพลังงานไฟฟ้า ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำจืด เช่น แหล่งวางไข่และแหล่งเลี้ยงตัวอ่อนของปลาน้ำจืดหายไป ทำให้ปริมาณปลาน้ำจืดที่เคยจับได้เป็นจำนวนมากลดน้อยลงไป

นายยงยุทธ ทักษิญ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสัตว์น้ำ กรมประมง กล่าวว่า เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว กรมประมงจึงมีแนวทางการเพิ่มผลผลิตประมงในแหล่งน้ำจืด ซึ่งได้ทำมาเกือบ 20 ปีแล้ว ทั้งในลุ่มน้ำธรรมชาติ หนอง บึง ทำนบปลา และเขื่อนต่าง ๆ เนื่องจากสัตว์น้ำเป็นอาหารที่หาได้ง่าย ราคาถูก และมีคุณภาพสูง รวมทั้งสามารถลดปัญหาการขาดแคลนอาหารโปรตีนในชนบทได้เป็นอย่างดี ซึ่งโปรตีนเหล่านี้ เมื่อบริโภคเข้าไปแล้วก็จะไปพัฒนาสมองให้แก่เด็ก ทำให้สมองได้รับการพัฒนาส่งผลให้มีความฉลาดมากขึ้น
นายยงยุทธ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา กรมประมงได้เล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้

จึงจัดสรรงบประมาณสำหรับการผลิตพันธุ์สัตว์น้ำจืด เช่น พันธุ์ปลาชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะชนิดปลากินพืช อย่างปลาตะเพียน ปลายี่สกเทศ ปลานวลจันทร์เทศ และปลาจีน ซึ่งเป็นพันธุ์ปลาที่เจริญเติบโตอยู่ในแหล่งน้ำได้ดี และกุ้งก้ามกราม ปล่อยลงในแหล่งน้ำทดแทนชนิดและจำนวนสัตว์น้ำจืดที่หายไปเป็นประจำทุกปี ปีละประมาณ 1,500 ล้านตัว แต่การปล่อยสัตว์น้ำเหล่านั้นจะต้องศึกษาว่าในแหล่งน้ำที่จะทำการเพิ่มผลผลิตทางการประมงมีอาหารชนิดใดอยู่ และเหมาะสมกับพันธุ์สัตว์น้ำจืดชนิดใด รวมทั้งต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้านด้วยว่าสามารถนำไปบริโภคได้หรือไม่ ส่วนช่วงเวลาที่ควรปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคือในช่วงฤดูฝน เนื่องจากจะทำให้มีปริมาณน้ำท่วมหลากเข้าไปในพื้นที่ทำให้เกิดแพลงตอนพืช แพลงตอนสัตว์ เป็นแหล่งอาหารให้กับลูกปลาที่เราปล่อยลงไป

นอกจากนี้สิ่งที่กรมประมงทำนอกเหนือจากการดูความเหมาะสมของอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในน้ำแล้ว เรายังแนะนำให้เกษตรกรและชาวบ้านช่วยกันตัดวัชพืชที่อยู่ริมหนอง บึง ม้วนลงไปอยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะกลายเป็นปุ๋ยหมักทำให้เกิดอาหารธรรมชาติ แพลงตอนพืช แพลงตอนสัตว์เกิดขึ้น ซึ่งผลผลิตที่ทำได้อยู่ที่ประมาณ  300-500 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้นหากประชาชนหรือหมู่บ้านใดที่มีแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่แล้ว และได้ไปขอรับพันธุ์ปลาจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงนำไปปล่อย ก็ควรสร้างอาหารธรรมชาติให้พันธุ์สัตว์น้ำที่ปล่อยด้วย จะทำให้แหล่งน้ำนั้นสามารถเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้กับชาวบ้านได้จับบริโภคกันได้อย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม หากมีผู้สนใจหรือหมู่บ้านใดต้องการขอรับพันธุ์สัตว์น้ำไปปล่อยในแหล่งน้ำ สามารถมายื่นคำขอรับพันธุ์สัตว์น้ำฟรี หรือขอรับคำแนะนำได้ที่สำนักงานประมงจังหวัดทั่วประเทศหรือศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดที่ตั้งอยู่ในจังหวัดของท่านได้เลย.

ที่มา : http://www.dailynews.co.th

Tags :

view
view