http://www.kanyafarm.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 Home

 Facebook

 Visitor

 Product

 Gallery

 Webboard

 Contact

 English

สถิติ

เปิดเว็บ13/08/2009
อัพเดท07/07/2021
ผู้เข้าชม1,892,947
เปิดเพจ2,833,943

เกษตรกรดีเด่น ‘เพาะเลี้ยงปลาสวยงาม’

เกษตรกรดีเด่น ‘เพาะเลี้ยงปลาสวยงาม’

นาน ๆ จะนำเสนอผู้มีอาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามกันที และวันนี้ไม่ธรรมดา เพราะเขาเป็นเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ประจำปี 2557 เขาคือนายศักรินทร์ สินทะสุทธิ์ ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 118 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าราบ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

แรกเริ่มเดิมทีเขาก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวงการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม ที่มาเกี่ยวข้องได้เพราะมีที่มาที่ไปดังนี้ ตั้งแต่ปี 2539 ได้แต่งงานกับ นางสาวมณี ชื่นชมวรรณ์ ซึ่งทางบ้านของเธอ มีอาชีพเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดสวยงามอยู่ก่อนแล้ว โดยการรับซื้อลูกปลามาขุนต่อให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการก่อนที่จะส่งขายกลับคืนให้กับพ่อค้า

พอมาปี 2540 เห็นว่าการเลี้ยงปลาสวยงามมีรายได้ดี จึงได้ขอทดลองเลี้ยง 1 บ่อ โดยซื้อลูกปลาทรงเครื่องมาเลี้ยง หลังจากขายปลาหมดแล้ว ได้กำไร 125,000 บาท ทำให้เกิดกำลังใจ และตั้งความหวังว่าจะต้องมีฟาร์มปลาสวยงามเป็นของตัวเองและหัดเพาะลูกปลาเองให้ได้ ปีต่อมาคือปี 2541 ได้นำผลกำไรที่ได้ มาลงทุนเช่าที่ดินพร้อมทั้งขุดบ่อปลาเพิ่มขึ้นอีก10 ไร่ โดยแต่ละบ่อมีขนาด 1 ไร่โดยประมาณ เงินส่วนที่เหลือ นำไปซื้อเครื่องสูบน้ำ และสั่งซื้อลูกปลามาลงเลี้ยง โดยเพิ่มปลาฉลามหางไหม้ และปลากาแดง ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดส่งออก หลังจากนั้นได้ไปเรียนรู้วิธีการเพาะปลาจากญาติที่เลี้ยงปลาสวยงามเหมือนกัน เมื่อเพาะลูกปลาเป็นแล้ว ก็ได้มาทดลองปฏิบัติด้วยตัวเองจนเกิดความชำนาญ ไม่ต้องสั่งซื้อลูกปลาจากคนอื่น ทำให้ผลประกอบการดีขึ้นเรื่อย ๆ ได้เก็บเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนเช่าที่ดินเพิ่มอีก 10 ไร่ เพื่อขยายกิจการ ซื้อรถยนต์กระบะ 1 คันเพื่อความสะดวกคล่องตัว และรวดเร็วในการที่จะส่งปลาให้กับลูกค้า ซึ่งช่วงนี้มีการแข่งขันในตลาดสูง

พอมาปี 2548 เพื่อนมาชวนให้ลงหุ้น เพื่อเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ป โดยบอกว่าเลี้ยงง่าย ได้กำไรดี แต่ต้องสั่งซื้อลูกปลามาเลี้ยง แต่พอปี 2549 กลับไปเลี้ยงปลาแม่น้ำอย่างเดิม และตั้งความหวังเอาไว้ว่า จะต้องเพาะลูกปลาแฟนซีคาร์ปด้วยตัวเองให้ได้ เพราะเห็นลู่ทางของปลาแฟนซีคาร์ป น่าจะไปได้ดีกว่าปลาชนิดอื่น ๆ และด้านตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง จึงได้ทดลองเพาะปลาแฟนซีคาร์ป โดยดูจากวีดิทัศน์ ศึกษาจากหนังสือของทางกรมประมงในเรื่องการเพาะปลาไน นอกจากนั้นยังได้นำวิธีการผสมเทียมปลา ที่เรามีความชำนาญ มาดัดแปลงผสมผสานกัน จนกระทั่งเพาะปลาแฟนซีคาร์ปแบบผสมเทียมประสบผลสำเร็จภายในปี 2549 นี้เอง สามารถผลิตลูกปลาที่มีสีสันสวยงามตามที่ตลาดต้องการได้เป็นจำนวนมากจึงได้ทำการแบ่งบ่อที่เคยเลี้ยงปลาน้ำจืดสวยงาม มาทำการขุนปลาแฟนซีคาร์ปเพิ่มขึ้น

….ปีนี้เอง มีฟาร์มส่งออกมาติดต่อสั่งซื้อลูกปลาแฟนซีคาร์ปของที่ฟาร์ม โดยมีกาสั่งซื้อล่วงหน้าตลอดทั้งปี โดยแบ่งให้ส่งเดือนละ2 ครั้ง ครั้งละ 5,000-8,000 ตัว ทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ปี 2553 มีเพื่อนมาบอกขายที่ดินติดคลองธรรมชาติให้ 4 ไร่ 2 งาน จึงได้นำเงินผลกำไรที่ได้จากการขายลูกปลาแฟนซีคาร์ป ไปซื้อที่ดินและเปิดเป็นฟาร์มเพาะลูกปลาแฟนซีคาร์ปขายอย่างจริงจัง มียอดสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องทุกเดือน เดือนละไม่ต่ำกว่า 50,000 ตัว ส่วนที่ดินที่เคยเช่าเลี้ยงปลา ก็ให้เพื่อนเปลี่ยนไปทำนาแทน พอมาปี 2555 สามารถนำเงินผลกำไรจากการขายลูกปลาแฟนซีคาร์ป ไปซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นอีก 2 ไร่ สร้างโรงเพาะฟักลูกปลา บ่อปูนสำหรับพักปลา สำนักงาน สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ และเช่าที่ดิน ที่ติดกับที่ดินตัวเอง เพิ่มอีก 8 ไร่ โดยแบ่งเป็นบ่อสำหรับขุนพ่อแม่พันธุ์ขนาด 1 ไร่ จำนวน 8 บ่อ บ่อดินสำหรับใช้พักปลาขนาด 200 ตารางวา จำนวน 4 บ่อ บ่อดินสำหรับอนุบาลลูกปลาวัยอ่อน ขนาด 300 ตารางวา จำนวน 4 บ่อ บ่ออนุบาลลูกปลาตัวอย่างขนาด 200 ตารางวา จำนวน 3 บ่อ

...ปี 2556 เนื่องจากมียอดสั่งซื้อในแต่ละเดือนเพิ่มขึ้นทำให้ไม่สามารถขุนปลาส่งขายได้ทันความต้องการของลูกค้า จึงได้เปลี่ยนการบริหารจัดการภายในฟาร์มใหม่ มีการสร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงปลาสวยงาม โดยให้สมาชิกนำลูกปลาของฟาร์มที่ผลิตได้ไปขุน แล้วส่งขายต่อให้กับผู้ขายอีกทอดหนึ่ง มีการแบ่งการทำงานออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้เพาะ กลุ่มผู้เลี้ยง กลุ่มผู้ขาย นอกจากนั้นแล้ว ยังได้รวมผู้เลี้ยงปลาชนิดอื่น ๆ เข้ามาเป็นสมาชิกของเครือข่ายด้วย ปัจจุบันมีสมาชิกเครือข่ายที่รับปลาไปเลี้ยงต่อ จำนวน 25 คน มีที่ดินรวมกันไม่น้อยกว่า 300 ไร่ และในปีนี้ได้นำสมาชิกกลุ่มเครือข่ายเข้าร่วมฝึกอบรมและทำกิจกรรมร่วมกับทางกรมประมง ...

ไม่ได้ผลิตแต่เพียงแฟนซีคาร์ปเท่านั้น ยังสามารถผลิตลูกปลาฉลามหางไหม้ ปลากาแดง ปลาทรงเครื่อง ปลาโคเมท ปลาน้ำผึ้ง ปลาตะเพียนทอง ปลาตะเพียนอินโด ปลากาดำ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดปลาสวยงาม

ปัจจุบันได้ยกระดับฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามให้ได้มาตรฐาน จนได้การรับรองมาตรฐานฟาร์ม ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมประมงทั้ง สพอ. และสรอ. มีการส่งตัวอย่างปลาเพื่อตรวจโรคเป็นประจำ

สำหรับสิ่งที่น่าภูมิใจเกิดขึ้นในปีนี้คือ การได้รับคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2557 สาขาอาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ

ที่มา : http://www.dailynews.co.th/

Tags :

view
view