http://www.kanyafarm.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 Home

 Facebook

 Visitor

 Product

 Gallery

 Webboard

 Contact

 English

สถิติ

เปิดเว็บ13/08/2009
อัพเดท07/07/2021
ผู้เข้าชม1,895,102
เปิดเพจ2,836,604

ยกกระชังปลาลงบ่อดิน รู้รับมือสายน้ำเปลี่ยนแปลง

ยกกระชังปลาลงบ่อดิน รู้รับมือสายน้ำเปลี่ยนแปลง

พูดถึงการเลี้ยงปลาในกระชัง หลายคนคงนึกถึงการเลี้ยงปลาตามแม่น้ำลำคลอง...คงจะเป็นภาพที่กำลังจะกลายเป็นอดีต เพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะหมดเนื้อหมดตัวได้ง่าย

หน้าฝน น้ำหลากปลาช็อกตาย หน้าแล้ง น้ำน้อย น้ำร้อนปลาตายยกกระชัง ครั้นจะหาช่วงเวลาดีๆภาวะน้ำปกติมาเลี้ยงปลา ไม่อาจจะทำมาหากินได้ทั้งปี ต้องมีเว้นวรรคพักช่วง...เป็นความจริงไม่อาจปฏิเสธ เพราะไม่มีอะไรจะไปบังคับธรรมชาติได้

“จากประสบการณ์ทำธุรกิจมาหลายสิบปี ทำให้รู้ว่าการเลี้ยงปลาตามแหล่งแม่น้ำลำคลอง ไม่สามารถจะควบคุมคุณภาพน้ำได้ ไม่ว่าความสกปรก เชื้อโรค โปรโตซัว สารเคมีจากไร่นา น้ำเสียจากโรงงาน ชุมชน ความขุ่นของน้ำในหน้าฝน น้ำน้อยในหน้าแล้ง ล้วนเป็นภาวะเสี่ยงของการเลี้ยงปลาในกระชังทั้งสิ้น”

อดิศร์ กฤษณวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ พูดถึงที่มีของการเลี้ยงปลาในกระชังแนวใหม่...ยกกระชังมาไว้ในบ่อดิน เพื่อให้คนสามารถควบคุมคุณภาพของน้ำได้ หน้าฝนไม่เจอน้ำหลาก หน้าร้อนน้ำน้อยหาน้ำมาเติมได้ สารเคมีทางการเกษตร น้ำเสียจากชุมชน หมดสิทธิ์ไหลมาปนเปื้อนได้

หลายคนอาจสงสัย เลี้ยงในบ่อดิน ทำไมต้องมาเสียเงินทำกระชังด้วย อดิศร์ อธิบายง่ายๆ เลี้ยงในกระชังถึงเวลาจับขายทำได้ง่าย ไม่ต้องเปลืองค่าแรง ค่าน้ำมันสูบน้ำจับปลา ข้อดีอีกอย่าง เลี้ยงในกระชัง ปลาอยู่ในวงจำกัด การใช้อาหาร วิตามินเสริม ปลาได้กินทั่วถึง ไม่ต้องเหวี่ยงกระจายไปทั่วบ่อ...อัตราสูญเปล่าแทบไม่มี

ถึงบ่อดินน้ำขังจะมีเศษอาหารปลาตกหล่นทำให้น้ำเน่าเสีย ปลาเจ็บป่วยได้ ไม่ต้องกังวล เพราะสามารถควบคุมได้ด้วยการเลี้ยงแบบโปรไบโอติกฟาร์มมิ่ง (Probiotic Farming) ใช้จุลินทรีย์ชนิดดีจากธรรมชาติมาช่วยกำจัดจุลินทรีย์ตัวร้ายที่ก่อโรค และช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ก่อให้เกิดแก๊สแอมโมเนีย ไฮโดรเจนซัลไฟที่ก้นบ่อ

และผลการจากเปรียบเทียบการเลี้ยงปลาในกระชังทั้ง 2 แบบ เลี้ยงปลาทับทิมในกระชังตามแม่น้ำ เลี้ยงได้ปีละ 2 รุ่น (4-5 เดือน/รุ่น) ปลาโตช้า เนื่องจากน้ำมีปัญหาความสกปรก เชื้อโรค โปรโตซัวปนเปื้อนตลอดเวลา แถมมีอัตรารอดเฉลี่ยอยู่ที่ 60%

ส่วนเลี้ยงกระชังในบ่อดิน เลี้ยงได้ปีละ 3 รุ่น (3–4 เดือน/รุ่น) คุณภาพน้ำดีกว่า ปลาโตเร็ว มีอัตรารอดเฉลี่ย 70% แต่ในรายที่ทำได้ดี อัตรารอดมีสูงถึง 80–90%

นั่นเป็นเพียงข้อดีเบื้องต้น...ข้อดีอีกประการ ปลาถูกเลี้ยงในกระชัง พื้นที่ว่างในบ่อยังเหลืออีกเยอะ ซีพีเอฟต่อยอดนำกุ้งมาปล่อยลงบ่อดิน กลายเป็นนวัตกรรมเลี้ยงสัตว์น้ำ ระบบโคคัลเจอร์ (Co-Culture) ปล่อยกุ้งขาว เลี้ยงผสมร่วมกับกุ้งก้ามกราม...ไม่ต้องกังวลว่ากุ้งต่างพันธุ์จะกัดกินกัน เพราะกุ้งต่างพันธุ์มีแหล่งหากินไม่ทับซ้อน

กุ้งก้ามกรามหากินตามก้นบ่อ...กุ้งขาวหากินกลางน้ำ

สรุปแล้ว บ่อดิน 1 ไร่ มีปลาในกระชังให้จับปีละ 3 รุ่น รุ่นละ 1,000 กก. มีกุ้งจับขายปีละ 2 รุ่น แต่ละรุ่นจับกุ้งขาวได้ 300 กก. กุ้งก้ามกรามอีก 200 กก. เลี้ยงได้ทั้งปี...เป็นเงินเท่าไร กรุณาคิดกันเอง.


ที่มา : http://www.thairath.co.th

Tags :

view
view